เทคนิคการเขียนแผนการตลาด

Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ

กลยุทธ์ทางการตลาด มีความต่อเนื่องมาจากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลหรือเรียกว่าการทำวิจัยตลาด การกำหนดยุทธ์ทางการตลาดเป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับกับทำธุรกิจให้มีความชัดเจนขึ้นมากขึ้น และเป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับตัวสินค้า กลุ่มเป้าหมาย วิธีการขาย การประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงต้องวางแผนการทางการตลาด หนึ่งในนั้นคือ เทคนิคการเขียนแผนการตลาดนั่นเอง


1.ความหมายของการตลาด
การดำเนินกิจการทางธุรกิจจำเป็นต้องคิดล่วงหน้าไว้ ถ้ากล่าวถึงเรื่องแผนการตลาด คือ แผนเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น เปิดร้านต้องมีแผนในการขายของหน้าร้าน ถ้าผลิตสินค้าส่งไปขายนอกร้านให้ผู้แทนจำหน่ายไปขายก็คือแผนการจัดจำหน่าย คำว่า “การตลาด” ตามที่ผู้ประกอบการ เคยได้ยินตามปกติ แต่จริง ๆ แล้วมีความหมายพิเศษหลายมิติคือ

การตลาดในมิติที่ 1 คือ การซื้อ การขาย การไปตลาดเพื่อไปซื้อไปขายสินค้า ในฐานะผู้ประกอบการ หรือในฐานะผู้บริโภคก็ตาม

การตลาดในมิติที่ 2 คือ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้มวลชนเข้าใจว่าเรามีสินค้าอะไรบ้าง สามารถหาซื้อได้ที่ไหน อย่างไร เป็นการตลาดเชิงระบบที่ประกอบด้วยการสื่อสารเพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและสร้างความต้องการของผู้บริโภค

การตลาดในมิติที่ 3 คือ นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์แล้ว นักธุรกิจจำเป็นต้องการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ผู้บริโภค ซื้อหากัน หรือจัดส่งถึงที่ทำงาน หรือที่บ้าน

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องคิดให้เพียงพอและครอบคลุม เช่น ถ้าเป็นผู้ประกอบการรายเล็กก็ไม่ต้องคิดซึ้งมาก เช่น อาจจะคิดแค่ว่าการตลาด ที่เกี่ยวกับการขายของหน้าร้าน การโฆษณา ประชาสัมพันธ์การออกร้านขายของบ้าง การใช้ใบปลิวโฆษณา การส่งสินค้าตรงตามที่กำหนด เก็บเงินให้ได้ ก็ถือว่าครบตามกระบวนการทั่วไปของการตลาด

2.ขั้นตอนการวางแผนทางการตลาด
การวางแผนทางการมี 4 ขั้นตอนด้วยกัน

2.1 การกำหนดวิสัยทัศน์
การที่ต้องนึกก่อนว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า ร้านเราจะเป็นร้านที่ใหญ่ ขนาดใหญ่ เช่น ถ้าสมมุติว่าเราเป็นร้านอาหาร อีก 3 ปีข้างหน้า และก็เป็นร้านที่ดังที่สุดในตำบลนี้ ซึ่งตรงนี้ถือว่าเรามีเป้าแล้วเราก็จะยินคำว่า Vision ซึ่งแปลว่า วิสัยทัศน์ ส่วน Mission คือ พันธกิจ หมายความว่า จะทำให้ถึงตรงนั้นได้อย่างไร พูดง่าย ๆ ก็คือว่าเราต้องมีวัตถุประสงค์ว่าร้านเราตั้งขึ้นมาทำไม

2.2 การกำหนดยุทธศสตร์
การวางแผนทางการตลาดต้องมีแนวทางในการให้ไปถึงเป้าให้ได้ เรียกว่ายุทธศสตร์หรือกลยุทธก็ได้ โดยทั่วไปแล้วเราต้องมี ยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่น ความพยายามที่ได้รวมพลัง ไม่กระจัดกระจาย และมี กลยุทธเพื่อให้มีสมาธิในการประกอบการ เพื่อที่ให้ทีมงานมีความมุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน นั้นก็คือ การวางแผน

2.3 การกำหนดนโยบายธุรกิจ
ธุรกิจนี้ไม่ใช่แค่ว่าการตลาด แต่ยังมีการผลิต การเงิน การบริหารงานบุคคล นโยบายเป็นกติกาที่ทุกคนในองค์กรต้องปฎิบัติ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า การวางแผนการตลาด โดยองค์รวม

3.ความสำคัญของแผนการทางการตลาด
ในการปฏิบัติอาจจะสูญเปล่าจากที่ไม่มีแผน หรือ การคิดล่วงหน้า ทำตามธรรมชาติ ข้อดีในการไม่มีแผน คือ ไม่มีความกดดัน ทางเลือกก็ไม่จำกัด แต่ก็มีข้อเสียมากมาย เช่น ถ้าไม่มีแบบแผนก็ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการพัฒนาเพราะว่าทำตามธรรมชาติ

3.1 สามารถประเมินผลการปฎิบัติงานได้
การที่มีแผนงานจะทำให้เราสามารถประเมิน หรือ สามารถเปรียบเทียบ ทำถูกหรือทำผิดเป้าหมาย เมื่อมีการเปรียบเทียบก็จะทำให้มีการศึกษาว่า เราทำผิดหรือทำถูกเป้าหมาย และที่สำคัญคือการมีสถิติในการนำมาอ้างอิง

3.2 สร้างวัฒนธรรมเพื่อการเติบโตของกิจการ
แผนถ้าเริ่มตั้งแต่องค์กร หรือร้านขนาดเล็ก ข้อดี ก็จะเป็นการฝึกการทำงาน ไม่ใช่เป็นการรอให้องค์กรใหญ่แล้วค่อยทำ อันนั้นก็จะทำให้เสียเงินแพง แล้วก็มักจะทำให้ปรับปรุงวัฒธรรมและความเคยชินไม่ได้ค่อยได้

3.3 สามารถพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างการเติมโตของกิจการ
การวางแผนจะทำให้เกิดการสังเกตุผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นนำเอาข้อมูลทางการตลาดมาสนับสนุนการวางแผนและจะทำให้เกิดการพัฒนาขององค์กรพร้อมไปด้วย

4.เทคนิคสู่ความสำเร็จของแผนทางการตลาด

1. แผนการตลาดต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับแผนธุรกิจ
แผนทางการตลาดจะต้องสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ด้วย เช่น แผนการผลิตสินค้า แผนการเงินต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อความมีประสิทธิภาพ ในการนำไปปฎิบัติ

2. แผนการตลาดต้องเข้าใจง่ายสำหรับพนักงานทุกระดับ
การเขียนแผนการตลาด จะต้องทำให้พนักงานเข้าใจคำว่าให้ดีที่สุดของเราแค่ไหน แต่ถ้าบอกพนักงานว่าปีนี้เราจะโต 20 % เราก็ต้องรู้เราต้องเก่งกว่า ปีที่แล้วเท่าไหร่ ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ชัดเจน เมื่อทำงานกับคนหมู่มาก หรือการทำงานเป็นทีม เราจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จำเพาะเจาะจงเป็นตัวเลข ซึ่งเป็นเทคนิคของการเขียนแผนการตลาดที่เข้าใจง่าย

3. แผนการตลาดต้องเข้าให้ความสำคัญกับเรื่องบุคคลากร
บริษัทขนาดเล็กจะมีเรื่องคนเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ซึงจะต้องให้มีแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับคนเช่นกัน ตั้งแต่การเลือกลูกจ้าง การพัฒนาบุคคลกรให้มีความรู้ ความสามารถเพื่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา