การตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing)

Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ

การตลาดเพื่อสังคม คือ....
การนำหลักการตลาด และเทคนิคทางการตลาดมาใช้ เพื่อให้ผู้รับสารเป้าหมาย (Target Audience) ยอมรับที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ของกลุ่ม หรือของสังคม

การตลาดเพื่อสังคมแตกต่างจากการตลาดเชิงธุรกิจอย่างไร ?

การตลาดเพื่อสังคม การตลาดเชิงธุรกิจ
- สินค้า คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม - สินค้า คือ สินค้าและบริการ
- เป้าหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงไปสู่พฤติกรรมที่ดีขึ้น (ไม่ใช่ตัวเงิน) - เป้าหมาย คือ ผลกำไรเป็นตัวเงิน
- กลุ่มเป้าหมาย เช่น คนยากจน , ผู้ประสบปัญหา - กลุ่มเป้าหมาย เช่น คนมีเงิน ชนชั้นกลาง

ทฤษฎีที่ใช้ในการตลาดเพื่อสังคม

1.Help Belief Model
เงื่อนไขที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1.1 ความตระหนัก
1.2 ความรุนแรงที่จะเกิด
1.3 การได้รับผลประโยชน์
1.4 เกิดอุปสรรคน้อยกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
1.5 แนวทางการปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ตัวอย่าง ปกตินายเอกชอบอาบแดดบ่อยๆ แต่ปัจจุบันนี้นายเอกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพราะความตระหนักถึงโรคมะเร็งผิวหนัง

2. Theory of Planned Behavior
ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากปัจจัยหลัก 3 ประการคือ
2.1 ทัศนคติ
2.2 Norm ของสังคม
2.3 การควบคุมพฤติกรรม
ตัวอย่าง นายเอกตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากทัศนคติที่ดีต่อการใช้ครีมกันแดด เช่น อ่อนกว่าวัย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ไม่เหนียวเหนอะหนะ

3. Social Cognitive Learning Theory
มีปัจจัย 2 ประการที่ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคือ
3.1 ปัจจัยภายใน
เป็นความรู้สึกของตนเองที่คิดว่าถ้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้วจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีต่อตนเอง
3.2 ปัจจัยภายนอก
เห็นตัวอย่างจากบุคคลอื่นๆ ตัวอย่าง นายเอกคิดว่า ถ้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้วจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีต่อตนเองและเห็นตัวอย่างจากบุคคลอื่นๆ

4. Transtheoretical Model (Stages of Change Theory)
ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มี 5 ขั้นตอนคือ
4.1 ขั้นตอนก่อนการไตร่ตรอง (Precontemplation Stage)
แน่ใจว่าสารที่ส่งเป็นสารที่ผู้รับคิดว่าสำคัญ
4.2 ขั้นตอนการไตร่ตรอง (Contemplation Stage)
ทำให้ผู้รับสารเชื่อว่ามันคุ้มค่าที่จะทำ กล่าวคือ เน้นประโยชน์และลดการรับรู้เรื่องราคา
4.3 ขั้นการเตรียมการ (Preparation Stage)
4.4 ขั้นลงมือทำ (Action Stage)
ทำให้ผู้รับสารมั่นใจและรู้ว่ามีคนช่วยเสมอ
4.5 ขั้นการบำรุงรักษา (Maintenance Stage)
ชมเชย สนับสนุนว่ามีประโยชน์ยาวนานแน่

5. Diffusion of Innovations
กลุ่มเป้าหมายหลักของการใช้ทฤษฎีนี้ใน Social Marketing คือ
5.1 ผู้นำมาใช้อย่างช้า (Late Majority Adopters)
5.2 ผู้ล้าหลัง (Laggards)
ทั้งนี้ในกรณีของนายเอกสมมติให้เป็นผู้นำมาใช้ก่อน กล่าวคือ นายเอกอาจจะทดลองใช้ครีมกันแดดแล้ว พอใช้แล้วดูดี ตอบคำถามเพื่อนๆได้ (เป็นผู้ให้ข้อมูลได้) เกิดเป็นพฤติกรรมใหม่ๆขึ้นมา