1. ไม่วางแผนการเงิน
การมีเป้าหมายทางการเงิน จำเป็นต้องวางไว้ทั้งเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาว คนที่ไม่วางแผนจึงมักจะพบว่า ตัวเองมักมีเรื่องเร่งด่วนอื่นโผล่มาก่อนถึงเป้าหมายเป็นระยะ ๆ ระหว่างการออม เช่น อยากซื้อรถเพราะต้องย้ายที่ทำงานใหม่ไปไกลและเดินทางลำบากกว่าเดิม อยากได้สมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ที่เห็นในโฆษณา หรือแม้แต่อยากต่อเติมห้องนอน ฯลฯ สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในแผนเหล่านี้จะทำให้เราหยุดออมสำหรับเป้าหมายวัยเกษียณ แล้วหันไปจ่ายเพื่อเรื่องอื่น ๆ ที่คิดว่าสำคัญกว่า และไม่ได้อยู่ในแผนไว้แต่แรก จนทำให้การออมสำหรับเป้าหมายหลักลดระดับความเข้มข้นลงไปจากความต้องการ2. ใช้จ่ายแบบไม่รอบคอบ
บางคนประมาทเพราะคิดว่าตัวเองมีหลักประกันในอนาคต เช่น คิดว่ายังมีเงินจากกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ… ฯลฯ สำรองอยู่เสมอ โดยหลงลืมไปว่า รายได้จากกองทุนเหล่านี้ พอถึงเวลาเข้าจริง ๆ ก็ไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณหรือเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากความเจ็บไข้ได้ป่วยที่ไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน3. สร้างหนี้ไว้จนเกินตัว
เป็นเหตุให้ต้องเอาเงินที่จะได้มาในอนาคตไปหักหนี้ที่ก่อไว้ เช่น ปล่อยให้ตัวเองเป็นหนี้บัตรเครดิตทับถม จนต้องกู้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญ เงินจากประกันชีวิต จนท้ายที่สุดไม่มีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายเมื่อเกษียณ4. ไม่รู้ว่าตัวเองมีเงินสดเท่าไหร่
ได้เงินมาเท่าไหร่ก็ใช้ไปเท่าที่มี เงินหมดก็เบิกธนาคารออกมาใช้อยู่เรื่อย ๆ ไม่มีการกันเงินไว้เป็นก้อนเป็นประเภทว่าประเภทไหนใช้ได้เมื่อไร พูดง่าย ๆ คือไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองอย่างเป็นกิจจะลักษณะ5. รายได้ต่ำ แต่มีรสนิยมสูง
คือพวกที่ชอบใช้จ่ายเงินเกินตัว จนแต่ไม่เจียม เวลาได้เงินมาก็คิดถึงแต่เรื่องจะใช้เงินอย่างไรจนหมดไม่เหลือเก็บ แถมยังเหนียวหนี้ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่มักประวิงเวลาตัวเองด้วยการทยอยจ่ายแต่จ่ายหนี้ขั้นต่ำ ทำให้ต้องเสียค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทบต้นหลายตลบ กว่าจะรู้ตัวก็หมดทั้งบัญชี ไม่มีเหลือให้เบิก เลยจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสินให้เสียดอกเบี้ยหนักขึ้นไปอีก6. บริหารเงินแบบไม่มีความรู้
เห็นใครเขาฮิตอะไรก็แห่ไปลงทุนตามเขา ซื้อทองซื้อหุ้นแบบไม่เคยทำการบ้าน วัน ๆ ก็เอาแต่ตามกระแสโดยไม่สนใจศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งไม่มีการจัดสรรสินทรัพย์ที่ดีพอ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง