ปัจจุบันนี้การทำธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น แม้กระทั้งการคำนวณราคาก็ต้องคิดซับซ้อนว่าระดับไหนที่ลูกค้าพอใจ ช่องทางการจัดจำหน่ายช่องทางไหนที่จะเข้าถึงลูกค้าได้เร็วที่สุด และที่สำคัญผู้ประกอบการต้องรู้จักลูกค้าเรา ไม่ก็เป็นเรื่องยากที่เราจะทำธุรกิจกับลูกค้าให้ประสบผลสำเร็จ
1. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด
การเก็บข้อมูลไม่เพียงแค่ทำให้ผู้ประกอบการรู้จักลูกค้าเท่านั้น ยังทำให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลว่ามีวิธีการอย่างไร เกี่ยวข้องกับใครเพื่อนำมาวิเคราะห์และตัดสินใจทำแผนงานที่จะทำให้ลูกค้า หรือผู้สนใจหันมาซื้อสินค้าของเรา โดยเฉพาะผู้ที่ทำธุรกิจขนาดกลางและเล็กมีความจำเป็นอย่างมาก
2. ประเภทของข้อมูลทางการตลาด
1. ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ถ้าสมมุติเรามีสินค้า หรือบริการสัก 1 ชิ้น คือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเราต้องรู้ว่า ลูกค้ามีพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ใช้จ่ายเงินอย่างไร มีความคิดเห็น ทัศนคติเกี่ยวกับสินค้าอย่างไร มีความชอบ มีความต้องการอย่างไร
2. ข้อมูลคู่แข่งขัน ถ้าเรามีสินค้าที่ลูกค้าซื้อเพิ่มขึ้น อาจจะมีคนที่ขายสินค้าเดียวกับเรา หรือคนมาทำแบบเดียวกับเราเพิ่มมากขึ้นจะเป็นการแข่งขัน ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคู่แข่งจะต้องหาวิธีการหลายอย่างๆ ที่จะดึงดูดลูกค้าให้ไปซื้อสินค้าของเขา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลคู่แข่งขันว่ามีใครบ้างที่เป็นคู่แข่งขันกับเรา โดยตรงกับสินค้าและบริการแบบเดียวกัน
3. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราเอง ว่าเราสินค้า และบริการอะไรบ้าง มีประเภทไหนบ้าง มีกี่แบบ ที่ผ่านมาเคยขายได้แบบไหนบ้าง
3. วิธีการเก็บข้อมูลทางการตลาด
ข้อมูลต้องมีความแม่นยำ ถูกต้อง และทันต่อเวลา คำว่าถูกต้องหมายความว่าเรารู้ว่าเก็บที่ใคร เก็บที่ไหน เก็บตรงกับคนที่ต้องการรู้ เช่น อยากรู้ว่าลูกค้าที่เราไปซื้อสินค้าที่แผงเป็น ระดับการศึกษาเป็นอย่างไร ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัย
ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าต้องเก็บจากลูกค้า ตัวอย่างเช่น มีบริษัทจัดกิจกรรมทางการตลาด ประชาสัมพันธ์สินค้าให้ลูกค้า ลูกค้าคือ บริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการใช้บริการเกี่ยวกับการประสัมพันธ์ เกี่ยวกับการกิจกรรมทางการตลาด แสดงว่าลูกค้าบริษัทนี้ เป็นบริษัทเหมือนกันที่ต้องการขายสินค้าและบริการ และต้องการ ประชาสัมพันธ์ แล้วเก็บกับใคร คือ การเก็บข้อมูลกับลูกค้าเหล่านี้ที่เป็นบริษัทหรือ ถ้าท่านผลิตสินค้าซีอิ๊ว แล้วผู้ใช้เป็นลูกค้าปลายทาง ดังนั้นลูกค้าของบริษัทนี้ คือคนที่ใช้ทานซีอิ๊วดังนั้นการเก็บข้อมูลต้องไปเก็บข้อมูลลูกค้าปลายทาง
ข้อมูลทางการตลาดเกี่ยวกับสายคู่แข่ง คู่แข่งขัน 2 แบบ คือคู่แข่งขันทางตรงและคู่แข่งขันทางอ้อม ถ้าบริษัทผลิตซีอิ๊ว คู่แข่งขัน คือ บริษัทที่ผลิตซีอิ๊วเหมือนกันอย่างนี้เรียกว่าคู่แข่งขันทางตรง สำหรับคู่แข่งขันทางอ้อม คือ บริษัทที่ผลิตเครื่องปรุงรสชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ซีอิ๊ว อย่างนี้เป็นคู่แข่งขันทางอ้อม เพราะว่าเป็นสินค้าใกล้เคียงกัน ดังนั้นหากจะกำหนดข้อมูลเกี่ยวกับใครในแง่ของคู่แข่งขันต้องดูว่าใครที่เป็นคู่แข่งทางตรง หรือว่าใครที่เป็นคู่แข่งทางอ้อม เพื่อที่จะได้เก็บข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นเพื่อความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ต้องมาดูว่าเป็นการเก็บข้อมูลภายใน ข้อมูลภายในหมายความว่าเรามีลูกค้าเข้ามามีการเก็บใบเสร็จ สำเนาใบเสร็จ สำเนาใบสั่งสินค้า ถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลภายใน แต่มีข้อมูลบางประการที่เป็นข้อมูลภายนอก เช่น การไปติดต่อลูกค้า ถ้ามีพนักงานไปคุยกับลูกค้า ว่าลูกค้าต้องการสินค้า ชนิดไหนเพิ่มขึ้น
4. เครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างแรกที่จะแนะนำให้รู้จัก คือ
1. แบบสอบถาม เริ่มจากกำหนดสิ่งที่อยากรู้ มาออกแบบคำถาม เพื่อนำไปสอบถามกลุ่มเป้าหมาย
2. การสัมภาษณ์หรือพูดคุย การสัมภาษณ์มีข้อดี คือ ทำให้ทราบความคิดเห็นว่าเขาคิดอย่างไรที่ตอบคำถามแบบนั้น ๆ ทำให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้น
3. การใช้ Focus Group ต้องจัดให้มาประชุม โดยมีคนมาตอบคำถามเป็นกลุ่ม 6-8 คน โดยมีคนทำหน้าที่ตั้งคำถาม ถ้าถามเรื่องราคา มีความสำคัญหรือไม่ แต่ละคนก็จะตอบ เพื่อพูดคุยถกเถียงว่าราคาสำคัญหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ข้อสรุปว่าสำคัญในด้านไหน
วิธีการเก็บข้อมูลมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ถ้าแบบสอบถามมีจะข้อเสียเพราะได้เฉพาะข้อมูลในกระดาษนั้น ส่วนสัมภาษณ์ และ Focus Group คืออาจทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลในเชิงปริมาณได้ แต่เป็นการประมวลผลในเชิงคุณภาพ ดังนั้นในปัจจุบันโดยทั่วไปการเก็บข้อมูลทางการตลาด จะใช้หลายวิธีร่วมกันในการเก็บข้อมูล ทั้งสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปผล
การเก็บข้อมูลทางการตลาดควรใช้หลายเครื่องมือให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของข้อมูลทางการตลาดโดยคำนึงเรื่องความถูกต้อง แม่นยำ และการทันเวลาที่จะนำไปใช้ของผู้บริหาร