จริยธรรมของผู้ประกอบการ

Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ

1. หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ
ผู้ประกอบการทุกท่านต้องการกำไร แต่การทำผลกำไรอย่างไร โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นไม่เพียงพอ เพราะการที่ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ธุรกิจใดที่มุ่งแต่สร้างกำไรโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผลสังคมส่วนใหญ่ธุรกิจนั้นๆ ก็คงอยู่ไม่ได้ผลนอกจาก ความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว ธุรกิจต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่สภาพเดิมจนรุ่นลูกหลาน ธุรกิจต้องบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ หรือระดับต่ำ ที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งมีผู้ประกอบการมักง่ายจำนวนมากที่พยายามบีบต้นทุน หรือลดต้นทุน โดยที่ไม่มีการลงทุนในการติดตั้งระบบ หรือเครื่องจักรที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึก จริยธรรม ของผู้ประกอบการว่ามีมากขนาดไหน หรือเอาใจใส่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริษัทต้องคำนึง การรักษาขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม ไม่ให้การดำเนินธุรกิจของตัวเองไปกระทบกับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม เพราะถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะเกิดผลเสีย ทำให้บกพร่องต่อหน้าที่ ในฐานะนิติบุคคลที่ดีของประเทศ วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ก็จะเป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

ผู้ประกอบการต้องระมัดระวัง ไม่เอาสิ่งแปลกปลอมแบบใหม่ที่เป็นพิษต่อเยาวชน หรือค่านิยมที่ถูกต้องตั้งแต่ตั้งเดิม เราต้องไม่ให้ธุรกิจของเรามากระทบ หรือแปรเปลี่ยนวิถีชีวิตของคน ในประเทศ ซึ่งเป็นวิถีดี สงบสุข อยู่แล้ว โดยมุ่งแต่ธุรกิจของตัวเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง ขัดต่อหลักจริยธรรม ในแง่ของบริษัทจำเป็นต้องดำรงตน เป็นพลเมืองที่ดี ซึ่งหมายถึง ถึงแม้ว่าบริษัทจะเป็นนิติบุคคลที่ไม่มีชีวิต จิตใจ ทางคณะกรรมการ ผู้บริหาร เป็นมนุษย์ มีความรู้สึก มีจิตใจ เพราะฉะนั้นถึงแม้บริษัทจะเป็น นิติบุคคล แต่ในทางปฎิบัติ ถ้าบริษัททำอะไรออกมา ก็จะเป็นการสะท้อนอารมณ์ ความคิด ของผู้บริหารออกมา ซึ่งต้องทำให้ถูกกฎหมาย ไม่มีการลักขโมย หรือติดสินบนหรือ ไปสมยอมการประมูลที่ขัดแย้งต่อศีลธรรม เพราะถ้าทำไปก่อให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น การฉ้อราษฎร์บังหลวง การตบมือข้างเดียวไม่ดัง ในขณะเดียวกันสิ่งที่สำคัญที่สุด คือผู้ประกอบการทุกคนต้องตระหนักถึง หน้าที่ ความรับผิดชอบ ในการที่จะต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง แต่ท่านจงใจหลีกเลี่ยงภาษี ถือเป็นผลกระทบต่อสังคมอย่างร้ายแรง ถือว่าเป็นความบกพร่องที่ส่งผลเสียต่อการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ นอกจากนี้โทษที่ตามมา คือการเสียค่าปรับ ทำให้ชื่อเสียง และจินตภาพของบริษัทเสียไปด้วย


2. หลักจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบการ
หลักยึดเหนี่ยวที่ผู้ประกอบการต้องมีคือ เรื่องของคุณธรรม ผู้ประกอบการต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา มีความชื่อสัตย์ ทำทุกอย่างต้องมีความโปร่งใส และทำถูกต้องตามกฎหมาย สามารถตรวจสอบได้ มีแหล่งอ้างอิง เพราะฉะนั้นในการที่แสดงว่าเรามีคุณธรรม ผู้ประกอบการต้องมี 2 จุดใหญ่ ด้วยกันคือ

1. ด้านบริหารจัดการทุกรูปแบบ เช่น บัญชี การผลิต การขาย ต้องอยู่บนความถูกต้อง มีความโปร่งใส และมีคุณธรรม อีกอย่างหนึ่ง คือ ระบบการเงิน ถ้าบริษัทท่านจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจำเป็นต้องเสนอการเงินในปัจจุบันรูปแบบที่สมบูรณ์ ถูกต้อง เพื่อประโยชน์กับนักลงทุนได้อ้างอิง และพิจารณาว่าสมควรลงทุน หรือไม่ ถ้าหากตัวเลขที่บอกไปไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ประกอบการตระหนักให้ดี

2. ผู้ประกอบการ และพนักงานที่ดี จำเป็นต้องปฎิบัติอย่างเสมอภาค และเป็นธรรมทุกกรณี ถ้าพูดถึงผู้ถือหุ้น ท่านต้องปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่ รายย่อย อย่างเท่าเทียม และเสมอภาค เหมือนกัน โดยเฉพาะกับผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มักไม่มีสิทธิ์ มีเสียง หรือไม่มีตัวแทนเข้าไปปกป้องสิทธิของตัวเอง ท่านในฐานะผู้บริหาร ท่านต้องมีความยุติธรรม

อีกประการหนึ่ง คือ การติดต่อลูกค้ารายใหญ่ ท่านต้องปฏิบัติกับลูกค้ารายย่อย เหมือนกันเพราะถ้าลูกค้ารายเล็กถูกเอาเปรียบ ก็ไม่สามารถเป็นลูกค้า ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ได้ เพราะถ้าเราเอาใจลูกค้ารายใหญ่ ก็ทำให้ท่านได้เงินมาก เก็บเงินง่าย แต่อย่าลืมไปว่าลูกค้ารายใหญ่นั้นก็เคยเป็นบริษัทเล็กมาก่อน เพราะถ้าลูกค้ารายเล็ก ไม่สามารถเติบโตเป็นลูกค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้ ท่านก็ตกอยู่ในอุ้งมือลูกค้ารายใหญ่ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ราย เพราะฉะนั้นหลักการบริหารที่เป็นสากล ต้องระวังไม่ให้ธุรกิจของตัวเองมีอัตราร้อยละสูงเกินไปกับลูกค้ารายใด รายหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วบริษัทก็สามารถพังลงได้ง่าย ๆ ดังนั้นต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง ต้องปฏิบัติอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกันทั้งรายใหญ่และรายเล็ก

ผู้บริหารต้องอาศัยหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสม ไม่เข้าข้างตัวเองในเรื่องที่ขัดแย้งผลประโยชน์ของบริษัท ไม่อย่างนั้นจะนำความเสื่อมเสีย ไม่มีความน่าเชื่อถือได้ ดังนั้นเรื่องขัดแย้งผลประโยชน์

จริยธรรมเป็นสิ่งจรรโลงเศรษฐกิจ และเป็นปัจจัยที่ทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความโปร่งใส นอกจากนี้ท่านผู้ประกอบการที่ต้องแข่งขัน ทั้งในและต่างประเทศยุคโลกาภิวัฒน์ ท่านต้องปรับและสร้างวัฒนธรรมที่ดีภายในองค์กร ในทุกคน ทุกระดับให้มีจิตใจที่ประพฤติ ปฏิบัติดี มีจริยธรรม มีคุณธรรม ซึ่งจิตใจสำคัญ ต้องดีงาม และท่านต้องอยู่บนความถูกต้องให้ได้ ซึ่งจะเป็นวิธีเดียวที่ทำให้ก่อเกิดสิ่งที่ดี ๆ ที่ให้ทุกคนปฎิบัติ มีจริยธรรม ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นวิถีชีวิตที่ทุกคนทำเป็นปกวิสัย ต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งทำให้ธุรกิจของท่านเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป