5
ปัญหา สำคัญหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ คือยังขาดความ เข้าใจในเรื่องของ “จุดคุ้มทุน หรือ Break-Even Point” โดยมักจะมีความเข้าใจว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ตนเองมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเท่ากับรายจ่ายที่ตนจ่ายออกไป ซึ่งอาจจะคิดกัน เป็นรายเดือนหรือรายปี ก็ตาม ก็ถือว่าตนเอง “คุ้มทุน” ความเข้าใจดังกล่าวนั้นก็อาจจะถือว่าเป็นจริงได้ในบางกรณีเท่านั้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การ “คุ้มทุน” ในความเข้าใจของผู้ประกอบการมักจะไม่ใช่ “จุดคุ้มทุน” ของธุรกิจที่แท้จริง
จุดคุ้มทุน
มีความหมายถึง จุดหรือระดับของรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ที่เท่ากับต้นทุนที่ธุรกิจได้จ่ายออกไป หรือจุดหรือระดับของรายได้ที่ธุรกิจ “เท่าทุน” โดยส่วนที่เลยจุดหรือระดับของรายได้ดังกล่าวคือผลกำไรที่ธุรกิจ จะได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าธุรกิจหนึ่งมีการผลิตสินค้าเพื่อขายจำนวน 10,000 ชิ้นต่อเดือน ราคาที่ตั้งขายชิ้นละ 100 บาท ดังนั้นถ้าธุรกิจนี้ขายสินค้า ได้ทั้งหมด หรือทั้ง 10,000 ชิ้น ธุรกิจจะมีรายได้จากการขายสินค้า ดังกล่าวเท่ากับ 1,000,000 บาท ต่อเดือน โดยถ้าจากการคำนวณจุด คุ้มทุนมีค่าเท่ากับร้อยละ 60 ก็จะหมายความว่า ถ้าธุรกิจสามารถสร้างยอดขายได้ 600,000 บาท ต่อเดือน หรือขาย สินค้าได้ 6,000 ชิ้น รายได้ที่เกิดขึ้นจะเท่ากับต้นทุนที่ธุรกิจจ่ายออกไป ในการผลิตสินค้าและต้นทุนการขายและ บริหารในธุรกิจทั้งหมด โดย ส่วนที่มากกว่า 600,000 บาทต่อเดือน หรือมียอดขายสินค้า 6,000 ชิ้นนี้ เป็นส่วนที่ธุรกิจจะได้รับเป็นผลกำไร ขึ้นอยู่ว่าจะขายสินค้าที่มีได้ หมดหรือไม่
ถ้าธุรกิจมีรายได้หรือจำนวนสินค้าที่ขายได้น้อยกว่าระดับจุดคุ้มทุน ดังกล่าว ธุรกิจจะประสบกับสภาวะขาดทุน ทำให้การทราบถึงจุดคุ้มทุน ของธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้และตระหนักถึงความสำคัญ เพราะบ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการไม่ทราบว่าธุรกิจของตนต้องดำเนินการขาย สินค้าหรือบริการ ในจำนวนเท่าใด จึงจะคุ้มกับต้นทุนที่ตนเองจ่ายออกไป ในแต่ละเดือน ซึ่งทำให้กระบวนการในการวางแนวทางการเงิน และการ วางแผนทางการตลาดเกิดข้อผิดพลาด เพราะไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับ จุดคุ้มทุน นั่นเอง
นอกจากนี้การมีความเข้าใจเกี่ยวกับจุดคุ้มทุนในการดำเนินธุรกิจนั้น ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้ประกอบการในการดำเนิน ธุรกิจอีกด้วย เช่น การตัดสินใจในการผลิตสินค้า การตัดสินใจในการบริหาร จัดการ การตัดสินใจในการเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจ เป็นต้น
การคำนวณหาจุดคุ้มทุนนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากต่อการคำนวณสำหรับผู้ ประกอบการแต่อย่างใด เนื่องจากมีตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณเพียง 3 ตัว แปรหลักๆ เท่านั้น คือ ต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร และยอดขายสินค้า หรือบริการ เท่านั้น หรืออาจเป็นการคำนวณในลักษณะของจำนวนรวม หรือเป็นราคาต่อหน่วยก็ได้ คือ ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยของสินค้า ต้นทุน ผันแปรต่อหน่วยของสินค้า และราคาขายต่อหน่วยของสินค้า ซึ่งก็ประยุกต์ มาจากตัวแปรหลักเบื้องต้นนั่นเอง
แแต่จุดที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความสับสนจะเป็นเรื่องของ อะไร คือต้นทุนคงที่ อะไรคือต้นทุนผันแปร เพราะถ้าไม่เข้าใจในเรื่องของความ แตกต่างในเรื่องของลักษณะและการกำหนดต้นทุนทั้ง 2 ประเภท ก็จะ ทำให้ผลลัพธ์ในการคำนวณจุดคุ้มทุนมีความผิดพลาด และไม่สามารถ นำมาใช้ในการตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ดังนั้นก่อนที่จะรู้ ถึงวิธีการคำนวณจุดคุ้มทุนจึงต้องทำความเข้าใจกับต้นทุนทั้ง 2 ประเภท ก่อน เป็นเบื้องต้น
ต้นทุนผันแปร (Variable Cost or VC)
ต้นทุนผันแปร หรืออาจเรียกกันว่าต้นทุนแปรผัน คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้น โดยมีค่าผันแปรไปตามยอดขายสินค้าหรือบริการ หรืออาจกล่าวแบบ ง่ายๆว่า ต้นทุนผันแปรจะเกิดขึ้นถ้ามีการขายสินค้าหรือบริการ โดย ต้นทุนแปรผันนี้ยังอาจแบ่งย่อย ออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนแปรผัน ในส่วนการผลิต และต้นทุนแปรผันในการขายและ บริหาร ต้นทุนผันแปรในส่วนการผลิตbr />
ไได้แก่ ต้นทุนที่จะที่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการผลิตสินค้าหรือบริการ ตัวอย่าง เช่น วัตถุดิบ (Materials) แรงงานการผลิต (Labor) สินค้าสำเร็จรูปซื้อ มาเพื่อการผลิต (Finished Goods for Production) ค่าโสหุ้ยหรือค่าใช้ จ่ายในการผลิต (Production Overhead) เป็นต้น ในส่วนแรงงานการผลิต นั้นจะคิดเฉพาะแรงงาน ที่จะมีค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายเมื่อมีการผลิตเท่านั้น ส่วนพนักงานประจำ เช่น ผู้จัดการฝ่ายการผลิต วิศวกร ช่างเทคนิค ที่ต้องมีการจ่ายเงินเดือนประจำอยู่แล้ว จะนับเป็นต้นทุนคงที่ รวมถึงค่าเช่า ที่ดิน ค่าเช่าอาคารโรงงาน ซึ่งไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการหรือไม่ ก็ต้องจ่ายค่าเช่าก็จะนับเป็นต้นทุนคงที่เช่นเดียวกัน
ต้นทุนผันแปรในส่วนการขายและบริหาร
ได้แก่ ต้นทุนที่จะที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการขายและบริหาร ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมาจากเงื่อนไข นโยบาย หรือข้อกำหนดของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น ค่านายหน้า (Commission) ซึ่งถ้าไม่มีการขายสินค้าหรือบริการ ก็จะไม่เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หรืออาจจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ได้แก่ ค่าโฆษณา ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าเลี้ยงรับรอง เป็นต้น เช่น ตั้งค่าใช้จ่าย ดังกล่าวไว้ที่ 3% ของยอดขายสินค้า ก็จะถือเป็นต้นทุนต้นทุนผันแปรใน ส่วนการขายและบริหาร โดยถ้าเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย ที่มีการกำหนด ไว้เป็นจำนวนที่แน่นอน ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กับยอดขายหรือใช้เพื่อการ บริหารให้นับเป็นต้นทุนคงที่
ต้นทุนคงที่ (Fix Cost or FC)
ต้นทุนคงที่ จะเป็นต้นทุนที่มีลักษณะตรงข้ามกับต้นทุนผันแปร กล่าว คือ ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการหรือไม่ก็ตามก็จะเกิดต้นทุนใน ส่วนนี้ขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในส่วนของการขายและบริหาร เป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนเช่นเดียวกัน คือ ต้นทุนคงที่ในส่วนการผลิต และต้นทุนคงที่ ในการขายและบริหาร
ต้นทุนคงที่ในส่วนการผลิต
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของค่าเช่าที่ดินในโรงงานหรือสถานประกอบ การการผลิต ค่าเช่าอาคารโรงงานการการผลิต ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ต่างๆ ที่ตั้งไว้ในจำนวนแน่นอน รวมถึงเงินเดือนพนักงานประจำในฝ่าย งานการผลิต เป็นต้น
ต้นทุนคงที่ในการขายและบริหาร
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของใช้จ่ายในด้านการบริหารจัดการ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าส่วนร้านค้า ค่าเช่าอาคารสำนักงาน ค่าสาธารณูปโภค พื้นฐาน ค่าภาษีต่างๆ ค่าธรรมเนียมทางราชการ ซึ่งต้องจ่ายเป็นประจำ ทุกเดือน รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ในจำนวนที่แน่นอน โดยไม่ สัมพันธ์กับยอดขายสินค้าหรือบริการในการขาย หรือการบริหารจัดการ ของธุรกิจก็นับเป็นต้นทุนคงที่เช่นเดียวกัน br />
ในการพิจารณาเกี่ยวกับต้นทุนดังกล่าวว่าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายใด ว่า จะเป็นต้นทุนผันแปรหรือต้นทุนคงที่ จะพิจารณาจากกิจกรรมที่ก่อให้เกิด ต้นทุนนั้นขึ้นว่าจากแหล่งใด เช่น มาจากส่วนการผลิต หรือมาจากส่วน ของการขายและบริหาร หรือพิจารณาจากความสัมพันธ์ของต้นทุนที่เกิด ขึ้นกับการขายสินค้าหรือบริการ เป็นสำคัญ โดยต้นทุนใดก็ตามที่เกิดขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงตามยอดขายสินค้าหรือบริการจะถือเป็นต้นทุนผันแปร ส่วนต้นทุนใดก็ตามที่ไม่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงตามยอดขาย สินค้าหรือ บริการ จะถือว่าเป็นต้นทุนคงที่ โดยการคิดมูลค่าต้นทุนแปรผันและ ต้นทุนคงที่นั้น สามารถคิดเป็นจำนวนมูลค่ารวมทั้งหมด เช่น ต้นทุนผันแปร รวมของธุรกิจ ต้นทุนคงที่รวมของธุรกิจ รายได้รวมของธุรกิจ หรือเป็น ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าก็ได้ เช่น ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ต้นทุนคงที่ ต่อหน่วย ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ราคาขายต่อหน่วย โดยมีสูตรการคำนวณ จุดคุมทุนได้ดังนี้ คือ
จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่รวม / (รายได้จากขายสินค้า - ต้นทุนผันแปรรวม) ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่ต้องการเปรียบเทียบ กับยอดขายรวม
จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ต่อหน่วย / (ราคาขายสินค้าต่อหน่วย - ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย) ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่ต้องการเปรียบเทียบ กับยอดขายรวม
จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่รวม / (ราคาขายสินค้าต่อหน่วย - ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นจำนวนหน่วยของสินค้าที่ต้องขายเพื่อให้ถึงจุด คุ้มทุน