การตั้งรหัสในโปรแกรมจะมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ในการค้นหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นรหัสสินค้า,รหัสบัญชี,
รหัสลูกหนี้,รหัสเจ้าหนี้ และ รหัสพนักงาน
เป็นต้นการตั้งรหัสที่ดีควรจะแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อที่จะแยกกลุ่มของรหัสออกมา
ซึ่งการตั้งรหัสควรคำนึงถึงความยืดหยุ่นในการใช้งานและ
ง่ายต่อการจดจำอาจจะใช้ตัวอักษร หรือตัวเลขมาประกอบกันก็ได้
โดยแบ่งตัวอย่างการตั้งรหัสดังต่อไปนี้ 1. การตั้งรหัสโดยใช้ตัวเลขในการตั้งรหัส XX-YYYY โดย XX = กลุ่มของสินค้า และ YYYY = ลำดับของสินค้าในกลุ่ม เช่น 01 = กลุ่มเครื่องดื่ม , 0001 = โค๊ก เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าในกลุ่มสินค้า 1 กลุ่มจะสามารถตั้งรหัสได้ทั้งหมด 9,999 ลำดับและ สามารถตั้งกลุ่มได้ทั้งหมด 99 กลุ่ม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. การตั้งรหัสโดยใช้ตัวเลขและตัวอักษรในการตั้งรหัส XX-BBB-YYY โดย โดย XX = กลุ่มของสินค้า , BB = ยี่ห้อสินค้า และ YYY = ลำดับของสินค้าในกลุ่ม เช่น CP = เครื่องคอมพิวเตอร์ , IBM= ยี่ห้อIBM และ 001 = รุ่น PS2-42 เป็นต้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
** ในการตั้งรหัสควรตั้งให้ครบหลัก เช่นใช้ทั้งหมด 10 หลักควรตั้งรหัสให้เต็ม 10 หลักเป็นต้น ในการตั้งรหัสหากต้องใช้ร่วมกับเครื่องยิงบาร์โค๊ดควรหลีกเลี่ยงการใช้รหัส ที่เป็นภาษาไทย เนื่องจากรหัสบาร์โค๊ดไม่สามารถพิมพ์แถบบาร์ออกมาได้หากเป็นรหัสที่ตั้งโดยใช้ตัวอักษรภาษาไทย |